ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

Tagalog language

ภาษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

ภาษาตากาล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ 16 เสียง เสียงสระ 5 เสียง ก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตากาล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/, /i/, และ /u/ มีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพิ่มสระอีก 2 เสียง คือ /?/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพิ่มอีก 4 เสียงคือ /aI/, /oI/, /aU/ และ /iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย

ภาษาตากาล็อกเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกริยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน

คำว่าตากาล็อกมาจาก taga-ilog โดย taga หมายถึงท้องถิ่นของ และ ilog หมายถึงแม่น้ำ รวมแล้วหมายถึงผู้อาศัยอยู่กับแม่น้ำ ไม่มีตัวอย่างการเขียนของภาษาตากาล็อก ก่อนการมาถึงของสเปนในพุทธศตวรรษที่ 21 เหลืออยู่เลย ประวัติศาสตร์ของภาษาจึงเหลืออยู่น้อยมาก คาดว่าภาษานี้กำเนิดในฟิลิปปินส์ตอนกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนาหรือวิซายาตะวันออก

หนังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อกคือ Doctrina Cristiana ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วยภาษาสเปนและภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและอักษรบายบายิน ในช่วงที่สเปนยึดครองอยู่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน

ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันภาษาแห่งชาติโดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า Wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ) โดยประธานาธิบดีมานูเอล เอเล. เกซอนเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโนใน พ.ศ. 2502 แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อก โดยเฉพาะผู้พูดภาษาเซบัวโน

ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติจากภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาฟิลิปีโน โดยภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาที่ผสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่น ๆ เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และภาษาไปวัน มีความสัมพันธ์กับภาษาที่พูดในบิกอลและวิซายาเช่น ภาษาบิโกล ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร และภาษาเซบัวโน

ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษามาเลย์โบราณ และภาษาทมิฬ

ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเกาะลูซอน โดยเฉพาะในเอาโรรา บาตายัน บาตังกัส บูลาจัน ลามารีนเหนือ กาบิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูเอบาเอซิฮา เกซอน และริซัล ภาษาตากาล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผู้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก ทางเหนือและทางตะวันตกของมินโดโร มีผู้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พุดภาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ทั่วโลก แต่มีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในซูลาเวซี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ภาษาตากาล็อกเขียนด้วยอักษรละติน โดยใช้ระบบการออกเสียงของภาษาสเปน เมื่อระบบภาษาประจำชาติได้พัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากภาษาตากาล็อก Lope K. Santos ได้พัฒนาตัวอักษรใหม่ประกอบด้วยอักษร 20 ตัว

ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440 ใน พ.ศ. 2478 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และได้พัฒนาภาษาราชการใหม่ขึ้นมา หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตากาล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ใน พ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปีโน ในปีเดียวกัน

ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภาษาปิลิปีโนเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาษาประจำชาติขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปีโน

คำว่าฟิลิปีโนและตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ ภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30% ของประชากร 84 ล้านคน และเป็นภาษาที่สองของประชากรอีกราว 80% ส่วนภาษาตากาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พูดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปีโน เพราะผู้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยุ่ห่างออกไปจากเขตของชาวตากาล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผู้ที่พูดภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่สอง แต่มักถือว่าเป็นผู้พูดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า

ภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่าง ๆ แต่มีความสำคัญน้อยกว่าภาษาอังกฤษ รวมทั้งในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์แต่ถือว่าคู่คี่กับภาษาอังกฤษในด้านการค้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปีโนใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศูนย์กลางอยู่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปีโนมีประวัติย้อนหลังไปเพียง พ.ศ. 2473 ในชื่อภาษาปิลิปีโนซึ่งขณะนั้นยังไม่ต่างจากภาษาตากาล็อกมากนัก ความแตกต่างเริ่มชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาษาราชการเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปีโนมีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรที่มาจากภาษาสเปน ?) และมีระบบของหน่วยเสียงและคำยืมที่เปิดกว้างสำหรับคำยืมจากภาษาต่างชาติและภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว (ไม่มี c, f, j, q, v, x, z; แต่ใช้ "ng" เป็นอักษรเดี่ยว) และระบบของหน่วยเสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินของวาติกัน

เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อกคำว่าฟิลิปีโนเป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากชื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปีโนมีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่น ๆ มาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภาษาเซบัวโนเป็นภาษากลางและเมืองบากุยโอที่เคยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปีโนเป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษาจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปีโนห่างไกลกันยิ่งขึ้น

คำศัพท์ภาษาตากาล็อกส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากคำศัพท์ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีคำยืมจากภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษามาเลย์ ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษากาปัมปางัน ภาษาทมิฬ และภาษาอื่น ๆ ในตระกูลออสโตรนีเซียน เนื่องจากมีการค้าขายระหว่างเม็กซิโกและมะนิลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21- 24 ทำให้มีคำยืมจากภาษาของชาวอินเดียนแดงในภาษาตากาล็อกด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301